ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาษาไทยในวัยรุ่น


ศัพท์วัยรุ่น 2018 : หลายคำที่หลายคนยังไม่เข้าใจ - seventeen ...


          ภาษาเครื่องมือสื่อสารที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ความคิด ความต้องการ ให้เข้าใจกันภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะภาษาแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนในชาติและช่วยถ่ายทอดวัฒนธรรมไม่ให้สูญหาย โดยผ่าน การบอกเล่าและการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นมรดกตกทอดกันมา (จิตต์นิภา ศรีไสย์ และคณะ. 2559 : 16)


          ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ที่คนไทยใช้เครื่องมือใช้สื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและตรงตามจุดหมายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความ รู้สึก คำในภาษาไทยย่อมประกอบด้วยเสียง รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และความหมาย ส่วนประโยคเป็นการเรียงคำตามหลักเกณฑ์ของภาษา และประโยคหลายประโยคเรียงกันเป็นข้อความ นอกจากนั้นคำในภาษาไทยยังมีเสียงหนัก เบา มีระดับของภาษา ซึ่งใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล

          ปัจจุบันภาษาไทยกำลังจะถูกลืมจากคนรุ่นใหม่ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ ผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาไทยของเด็กเยาวชน และนักศึกษาในหมาวิทยาลัยล้วนตกต่ำลงมาก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นการตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนน่าสังเกตเป็นพิเศษ นอกจากนั้นแล้วการใช้ภาษาไทยแล้วการใช้ภาษาไทยที่ผิดๆก็มักให้เห็นอยู่มากมายทั้งในสื่อมวลชน ในเพลง ในละครโทรทัศน์ และในการแชทผ่านอินเทอร์เน็ต รวมทั้งในชีวิตประจำวันเราเองที่ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกับการเขียน การพูด และการสื่อสารให้ถูกต้อง (จรุงภรณ์ กลางบุรัมย์, 2558 : 345)

          สาเหตุที่ทำให้ภาษาไทยมีความผิดเพี้ยนนั้นต่างมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อสังคม คือ กลุ่มดารา วัยรุ่น นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ที่มักใช้ภาษาอย่างไม่เหมาะสม มีการใช้คำแสลงจนภาษาไทยเข้าขั้นวิกฤติ นอกจากนี้ยังมองว่าพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้อ่านหนังสืออย่างอื่น นอกจากตําราเรียน อีกทั้งสถานศึกษาอีกจํานวนมากไม่ได้สนับสนุนให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมหรือโครงการดีๆ ที่เน้นการอ่าน การเขียน การพูด หรือกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้คลุกคลีกับตัวหนังสือ ขณะที่ห้องสมุดก็ไม่ค่อย จะมีกิจกรรมดึงดูดให้เด็กเข้าไปศึกษาหาความรู้



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาษาวัยรุ่น


     
          ปัญหาการใช้ภาษาไทยได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี แต่ในยุคปัจจุบันนี้ปัญหา ยิ่งวิกฤติความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีปัจจัยหนุนนําที่สําคัญนั่นคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ํา ไปอย่างรวดเร็ว เราจึงพบการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ มากมายจนเกือบจะกลายเป็นความคุ้นชิน โดยเฉพาะ ในกลุ่มวัยรุ่น ยิ่งน่าเป็นห่วงมากที่สุด เป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นภาษาที่เกือบจะไม่มีไวยากรณ์ ไม่ว่าจะจากการรับส่งข้อความสั้น (SMS) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสนทนาออนไลน์ (MSN) หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นในโลกอินเทอร์เน็ต การใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้น เริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแชทรูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนา กันธรรมดา แต่ทําให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกัน ก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคํา และการสร้างคําใหม่ให้มีความหมายแปลกไป จากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเอง วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการ สื่อสารด้วยคําที่ทันสมัย มีความหมายเฉพาะสําหรับกลุ่มและช่วงวัย วัยรุ่นจึงขาดความคํานึงถึงความถูกต้อง เหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสม มีหลายสาเหตุที่ทําให้วัยรุ่นใช้ภาษาที่ผิดๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเข้ามา เกี่ยวข้องอย่างมาก ทําให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจําวัน รวมทั้งการสื่อสาร วัยรุ่นในประเทศไทย ยุคใหม่บางกลุ่มได้สร้างค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้ คือการใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคําเดิม จึงทําให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลังๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง (จรุงภรณ์ กลางบุรัมย์, 2558 : 347)



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาษาวัยรุ่น


          สําหรับภาษาของวัยรุ่นที่พบเห็นกันบ่อยๆ นั้น มีทั้งภาษาที่ใช้ในการพูด โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ําเลย เช่น ตัวเอง = ตะเอง, ครับ = คับ, จริง = จิง, เปล่า = ป่าว ส่ วนภาษาที่ใช้ในการเขียน ซึ่งจะมีทั้งคําพ้องเสียง เช่น เธอ = เทอ, ใจ = จัย, หนู = นู, ผม = ปีม, ไง = งัย, กรรม = กํา, เสร็จ = เสด, ก็ = ก้อ หรือบางคําที่พิมพ์ด้วยความรีบเร่ง ซึ่งจะใกล้เคียงกับกลุ่มคําพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกดแป้น Shift อาจทําให้เสียเวลา จึงไม่กด แล้วเปลี่ยนคําที่ต้องการเป็นอีกคําที่ออก เสียงคล้ายกันแทน เช่น รู้ = รู้ เห็น = เหน, เป็น = เปน, ใช้ไหม = ชิมิ และยังมีกลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกม โดย ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาไทย เช่น เทพ = Inw, นอน = uoน, เกรียน = เกรีeน หรือแม้แต่การเน้นเขียนคําให้สั้นที่สุดโดยใช้สัญลักษณ์แทน เช่น 555 แทนเสียงหัวเราะ เป็นต้น และยังมีคําอีกมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่น จนแทบจะกลายเป็นภาษาทางการของกลุ่ม วัยรุ่นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและนับวันยิ่งขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากทุกภาคส่วน ในสังคมยังคงปล่อยวางไม่เร่งรีบหาทางแก้ไข และยังคงมีการใช้บ่อยๆ ก็จะทําให้เกิดความเคยชิน อีกทั้งมี การนําไปใช้ในชีวิตประจําวันจนในที่สุดก็จะกลายเป็นเรื่องปกติซึ่งน่าหวั่นเกรงยิ่งนักว่าในอนาคตปัญหาวิกฤติ ภาษาไทยก็จะยิ่งยากเกินการเยียวยาแก้ไข (จรุงภรณ์ กลางบุรัมย์, 2558 : 346)


สาเหตุที่สําคัญในการเปลี่ยนแปลงภาษาของวัยรุ่นที่ใช้กันในปัจจุบัน เนื่องมาจาก


        1. เมื่อการติดต่อผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลายเป็นช่องทางใหม่ในการสื่อสาร ภาษาในยุคนี้ จึงแปลกเปลี่ยน เกิดภาษาใหม่ๆ บางคํามาจากแป้นพิมพ์ที่อยู่ติดกัน พิมพ์ง่ายกว่าจึงเกิดคําใหม่แทนคําเก่า

        2. เพื่อลดความรุนแรงในการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ

        3. คําศัพท์ใหม่ๆ ที่วัยรุ่นหรือคนบางกลุ่มนํามาใช้จนแพร่หลายนั้น ก็เพราะว่าคําไทยที่มีอยู่เดิม อาจจะไม่สามารถสื่อถึงลักษณะและรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารได้มากพอ คนส่งสารก็เลยต้อง พยามยามคิดคําขึ้นมาใหม่ให้สามารถบอกรายละเอียดและความรู้สึกของตนเองให้ได้มากที่สุด

        4. การเขียนคําไทยในอินเตอร์เน็ต หรือนิตยสารเพื่อความบันเทิง จะเขียนตามเสียงอ่านเพราะ ไม่ต้องการอยู่ในกรอบ หรือต้องการทําอะไรที่คิดว่าใหม่ ไม่เลียนแบบของเก่า

        5. ทุกสิ่งในโลกล้วนเป็นอนิจจัง วัฏจักรของชีวิตมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ภาษาก็มีวัฏจักรชีวิตเช่น เดียวกัน ภาษามีเกิด คือ มีการสร้างคําใหม่ๆ ขึ้นมา ภาษามีแก่ คือ คําที่คิดว่าเก๋ เท่ ในยุคหนึ่ง ก็กลับกลาย เป็นคําที่ล้าสมัยในปัจจุบัน ภาษามีเจ็บ คือ ความบกพร่องในการใช้ภาษา ต้องอาศัยการเยียวยารักษา ภาษา มีตาย คือ คําบางคําไม่มีการนํากลับมาใช้อีกอย่างไร ก็ตามภาษาวิบัติยังเป็นคําพูดที่ไม่ได้รับความยินยอม ให้ใช้ทั่วไปในระดับสากล หากแต่ใช้พูดกันเองในกลุ่มเพื่อนฝูงหรือในกลุ่มวัยรุ่น โดยการใช้ภาษาเหล่านี้ มักจะได้รับการต่อต้านจากผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมอยู่เสมอ


รูปแบบการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น

          การใช้ภาษาเป็นเรื่องของการสื่อสาร ซึ่งผู้ส่งสารจะต้องทําให้ผู้รับสารเข้าใจความหมายของตน ให้มากที่สุด แต่การสื่อสารที่มีรูปแบบแตกต่างกัน จะทําให้การใช้ภาษามีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น การสื่อสารแบบเผชิญหน้าย่อมแตกต่างจากการสื่อสารแบบผ่านเครื่องมือการสื่อสาร หรือการสื่อสารด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ย่อมมีความแตกต่างการสื่อสารด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งภาพและเสียง
ในปัจจุบันปัญหาที่พบเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย คือการใช้ภาษาในทางวิบัติและมีการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ภาษาอยู่หลายประเภท เช่น
          1. รูปแบบการพูด เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้เวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียน ด้วย แต่น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยการพูดมักจะพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียง ควบกล้ําเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง
          2. รูปแบบการเขียน รูปแบบของภาษาวิบัติประเภทนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคําพ้องเสียงที่จะนํามา ใช้ผิดหลักของภาษา คนที่ใช้ภาษาวิบัติ เวลาเขียนนั้นจะเขียนตามเสียงอ่าน เพราะไม่ต้องการอยู่ในกรอบ หรือ ต้องการทําอะไรที่คิดว่าใหม่ ไม่เลียนแบบของเก่า ได้แก่
                    1. การเขียนตามเสียงพูด
                    2. การสร้างรูปการเขียนใหม่
                    3. รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงเสียงอ่าน
                    4. กลุ่มที่เปลี่ยนแปลงความหมาย
          วัยรุ่นไทยสมัยนี้นิยมใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อการติดต่อที่รวดเร็วและเนื่องจากความเร็วในการ สื่อสารและความยากลําบากในการพิมพ์ตัวอักษรทําให้วัยรุ่นทําให้คําเหล่านั้นสั้นลงจนกลายเป็นภาษา วิบัติ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ social media


ตัวอย่าง การใช้ภาษาโดยมีการเปลี่ยนแปลง
          แปลงเสียงสั้นเสียงยาว           
                    อะไร แปลงเป็น อาราย
                    ได้ แปลงเป็น ด้าย
                    ไม่ใช่ แปลงเป็น ม่ายช่าย
                    ไป แปลงเป็น ปาย ใคร           
                    คิดถึง แปลงเป็น คิดถุง
          ซ้ําตัวสะกด
                    ว้าย แปลงเป็น ว้ายยยย
                    โอ้ย แปลงเป็น โอ้ยยยย
                    ครับ แปลงเป็น ค้าบบบบ                     
                    รัก แปลงเป็น ร้ากกก           
                    จ้า แปลงเป็น จร้าาาา      
          เขียนแตกต่างจากเดิม           
                    ขอบใจ แปลงเป็น ขอบจัย
                    อย่างไร แปลงเป็น ยังงัย
                     เธอ แปลงเป็น เทอ           
          เขียนรูปแบบหรือสัญลักษณ์
                    เสียงหัวเราะฮ่าฮ่าฮ่า แปลงเป็น 555           
                    ยิ้ม แปลงเป็น :)           
                    ทําหน้าตาเบื่อโลก แปลงเป็น - -           
          การแทรกเสียง
                    ถึง แปลงเป็น มรึง
                    กู แปลงเป็น กรู
                    จ้า แปลงเป็น จร้า
          ความหมายต่างไปจากเดิม
                    ปวดตับ หมายถึง เครียด
                    กลิ่นตุๆ หมายถึง เค้าลางของการทุจริต
                    เกาเหลา หมายถึง ไม่ถูกกัน,ไม่กินเส้น
                    ตู้ หมายถึง เด็กเรียน          
                    โดนใจ หมายถึง ประทับใจ

         
          มีคําอีกมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่น จนแทบจะกลายเป็นภาษาทางการของ กลุ่มวัยรุ่นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและนับวันยิ่งขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากทุกภาคส่วน ในสังคมยังคงปล่อยวางไม่เร่งรีบหาทางแก้ไข และยังคงมีการใช้บ่อยๆ ก็จะทําให้เกิดความเคยชิน อีกทั้งมี การนําไปใช้ในชีวิตประจําวันจนในที่สุดก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งน่าหวั่นเกรงยิ่งนักว่าในอนาคตปัญหา วิกฤติภาษาไทยก็จะยิ่งยากเกินการเยียวยาแก้ไข
          ในปัจจุบันหากฝืนปล่อยให้กลุ่มคนที่ชอบใช้ภาษาแบบผิดๆ ด้วยค่านิยมที่ผิดๆ เพียงรู้สึกว่าการใช้ ภาษาตามค่านิยมวัยรุ่นเหล่านั้นดูเป็นคําที่น่ารักและยังช่วยให้พิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ไม่คํานึงถึงสิ่งที่จะตามมา นั่นคือการทําลายภาษาไทยโดยทางอ้อม และที่น่ากลัวยิ่งคือวัยรุ่นบางกลุ่มได้นําคําเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจํา วันและได้แพร่หลายเข้าไปในสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะนําพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทุกฝ่ายไม่ควรมองข้าม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาษาไทย การ์ตูน png


แนวทางแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น

          แนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น อาจจะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามา ช่วยดูแลอย่างสม่ำเสมอ แต่ถึงอย่างไรก็ตามการจัดการกับปัญหานี้ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานรัฐเพียงอย่าง เดียว สิ่งที่จะช่วยจัดการกับปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นได้ง่ายที่สุด คือ

          1. สถาบันครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครอง นับว่าเป็นบุคคลใกล้ตัวและมีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะ ช่วยในการแก้ปัญหา โดยควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและวัยรุ่น ควรสอนให้เด็กเขียนหนังสือให้ถูกต้อง และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านก็จะยิ่งช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องตั้งแต่เด็ก

          2. สถาบันการศึกษา ทุกสถาบันมีการเรียนการสอนภาษาไทยอยู่แล้ว ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึง อุดมศึกษา โดยสถาบันในทุกระดับนั้น ควรให้ความสําคัญกับการเรียนภาษาไทย นอกจากนี้อาจต้องพิจารณา หลักสูตรโดยหันมาใช้การเรียนการสอนเติมๆ ซึ่งจะมีวิชาเขียนไทย อ่านไทย ย่อความ หรือท่องบทอาขยาน เพื่อให้เด็กใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เคยมีรับสั่งว่า การที่ให้เด็ก ได้ท่องบทอาขยาน เป็นการฝึกความจําของเด็ก ด้วยการให้ได้ท่องภาษาดีๆ การใช้ภาษาของเด็กก็จะได้รับ การพัฒนาไปด้วย อย่างไรก็ตาม การที่จะฝึกฝนและสอนเด็กให้ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องนั้น ครูก็ต้องเป็นแบบ อย่างที่ดีด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้หามาตรการในการสร้างมาตรฐานการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องของครู ด้วยเช่นกัน เช่น แนวคิดในการจัดทําเกณฑ์มาตรฐานของครูโดยราชบัณฑิตยสถาน การจัดอบรมครูภาษาไทย ทั่วประเทศ และพยายามบรรจุครูที่เรียนจบภาษาไทยให้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันครูสอนภาษาไทย จบสาขาวิชาอื่นมา เป็นต้น

          3. สื่อ เนื่องจากเด็กและเยาวชนอยู่กับสื่อแทบตลอดเวลา มากกว่าอยู่กับพ่อแม่ และสถาบันการ ศึกษา สื่อจึงควรมีจิตสํานึกและตระหนักว่าตนเองมีความสําคัญต่อสังคม มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆ ของวัยรุ่น รวมทั้งการใช้ภาษา แม้ว่าสื่อมีความจําเป็นต้องใช้คําแปลกใหม่บ้าง เพื่อเป็นสีสันของข่าวและ ดึงดูดผู้ชมผู้ฟัง แต่ก็ต้องไม่มากจนเกินไป ดังนั้น เมื่อจะสื่อสารสิ่งใดจึงควรมีวิจารณญาณ และใช้ภาษาไทย ให้ถูกต้องเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมต่อไปการที่จะฝึกฝนหรือสอนให้เด็กพูด อ่าน และเขียนภาษาไทย ให้ถูกต้องนั้น คงจะง่ายขึ้นหากเราสามารถปลูกฝังให้พวกเขารู้สึกหวงแหนภาษาไทย ซึ่งเป็นมรดกของชาติ เพราะเรามีทั้งภาษาพูด และภาษาเขียนที่เป็นของเราเอง เพื่อที่วันข้างหน้าเขาจะเติบโตขึ้นเป็นเยาวชนไทย ที่ใช้ภาษาไทยถูกต้อง มีบุคลิกภาพดี และสามารถแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ

          4. ครู อาจารย์ ก็ต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กนักเรียนในห้องเรียน เพราะพฤติกรรมและ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครู จะมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจของนักเรียน ครูจึงสามารถพัฒนาแรงจูงใจ ของนักเรียนได้โดยสนับสนุนให้นักเรียนกําหนดเป้าหมายการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจว่า ความสําเร็จ นั้นเกิดจากความพยายาม ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนสามารถควบคุมได้ และในการจัดกระบวนการเรียนรู้ครูต้อง พยายามเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง กําหนดหรือมอบหมายงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ศักยภาพของนักเรียน เพื่อให้พวกเขาเกิดความมั่นใจและใช้การเสริมแรงทางบวกเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจให้ ได้มากที่สุด
          จะเห็นได้ว่า ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นไทยมีความสําคัญเป็นอย่างมาก เพราะภาษาไทย ไม่ใช่มีไว้เพียงแค่การติดต่อสื่อสารเท่านั้น แต่ภาษาไทยของเราเป็นเอกลักษณ์ เป็นวัฒนธรรม ที่สืบทอดต่อ กันมาเป็นเวลานาน ภาษาไทยจึงมีความสําคัญกับวัยรุ่นไทยที่จะเป็นอนาคตของชาติต่อไป รักษาภาษาไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างไว้ให้ และให้ภาษาไทยอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาษาไทย การ์ตูน png

 




บรรณานุกรม

จรุงภรณ์ กลางบุรัมย์. (2558, มกราคม-มิถุนายน). ภาษาวัยรุ่นกับการเปลี่ยนแปลงไวยากรณ์ไทย                        ในยุคโซเซียลเน็ตเวิร์ค. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1),                     345-353.

จิตต์นิภา ศรีไสย์ และคณะ. (2559). หลักภาษา และการใช้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.
          กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สุธะนะ พามนตรี. (2563). ความสำคัญของภาษาไทย [Online]. เข้าถึงได้จาก :
          https://www.classstart.org/classes/4131. [2563,มีนาคม,10]

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

หลักการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต                 สถานภาพการรับรู้ข่าวสารและการสื่อสารของประชาคมโลกมีศักยภาพสูงขึ้นจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารในสังคมโลกาภิวัฒน์ การเลือกรับข่าวสารต่างๆ มีความหลากหลายในเวลาเดียวกัน อินเทอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารของประชาชนทุกเพศทุกวัยและในทุกระดับ กล่าวได้ว่าในปัจจุบันไม่มีใครที่ไม่รู้จักอินเทอร์เน็ต สื่อสมัยใหม่ตัวนี้มีบทบาทอย่างมากในการสื่อสาร ดังจะเห็นได้จากการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ การสืบค้นเรื่องราวความรู้ในเรื่องต่างๆแทบทุกเรื่องทำได้อย่างรวดเร็วจนได้รับสมญานามว่า ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก             ลักษณะข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นสื่อผสมผสานที่ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และภาพจากวิดีทัศน์ หรือวิดีโอ คลิปต์ ที่ขาดไม่ได้คือเสียงองค์ประกอบที่ทำให้เกิดชีวิตชีวา             ด้วยภาวะข้อมูลข่าวสารที่มีมากมายและความเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกด้าน บทความจึงมีหน้าที่เป็นช่องทางหนึ่งในการแสดงความคิดเห็น ให้ความรู้ ชี้แนะ และอธิบาย บทความคือข้อเขียนประเภทหน

การนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา

การนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา ความหมายของการนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา           การนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา หมายถึง การ สื่อสารโดยการพูด เพื่อถ่ายทอดข้อมูลหรือแนวคิด ให้ผู้ฟังมีความเข้าใจ หรือมีทัศนคติตามวัตถุประสงค์ ที่ผู้นําเสนอได้ตั้งไว้ ภายในระยะเวลาอันจํากัดหรือ ภายในเวลาที่ถูกกําหนดไว้ รูปแบบของการนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา           การนําเสนอข้อมูล เป็นการสื่อสารที่มีความ แตกต่างกันในแนวทางปฏิบัติ รูปแบบของการ นําเสนอแบ่งตามลักษณะ ขนาด และจํานวนของ ผู้ฟัง ดังนี้           ๑. การนําเสนอเฉพาะกลุ่ม เป็นการนําเสนอข้อมูลต่าง ๆ ต่อผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้ รับเชิญให้เข้าร่วมรับทราบข้อมูลในการนําเสนอ           ๒. การนําเสนอในที่ประชุมชน เป็นการนําเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่มีผู้เข้ารับฟังเป็นจํานวนมาก อาจมี บุคคลทั่วไปเข้าร่วมฟังการนําเสนอได้และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามเพิ่มเติมได้อีกด้วย เช่น การฟัง อภิปราย การบรรยายความรู้ เป็นต้น ลักษณะที่ดีของการนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา           การนําเสนอที่ดีจะทําให้ผู้รับการนําเสนอมีความพึงพอใจ ชื่นชม และเกิดการยอมรับ ยกย่องให้